โรงพยาบาลบ้านด่าน

โรงพยาบาลบ้านด่าน

ข้อมูลทั่วไป: ความเป็นมา
*ท้องที่อำเภอบ้านด่านเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ บ้านด่าน, ปราสาท, วังเหนือ และโนนขวาง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านด่าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539
*และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550  ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบ้านด่าน  โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8กันยายน  2550 เป็นต้นไป  

พ.ศ. ๒๕๕๒ สปสช.เขต ๙ ได้เสนอโครงการโรงพยาบาลไร้ความแออัด สสอ.บ้านด่านจึงได้แยกออกมาเป็นเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านด่าน (Cup split) มีโรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นแม่ข่าย

*ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีให้สร้างโรงพยาบาลบ้านด่าน ขนาด ๓๐ เตียง (F2) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๙ ไร่ โดยมีตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน และเปิดดำเนินการ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และเริ่มให้บริการ ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
*เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลเปิดใหม่ที่มีประชากรน้อย โดยประชากรส่วนใหญ่ยังขึ้นทะเบียนกับเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านด่าน (Cup split) สสจ.บุรีรัมย์จึงได้ทำ MOU กับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ให้มาช่วยการบริหารและสนับสนุนด้านการบริการ รวมทั้งด้านการเงิน
 
ขอบเขตการให้บริการ
 *โรงพยาบาลบ้านด่าน  เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 68 เตียง (ตามกรอบที่ขอจัดตั้ง) 
*ให้บริการ ตรวจ วินิจฉัย  ส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค   บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวมทั้งในและนอกโรงพยาบาลตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ จนถึงตติยภูมิ แก่ประชาชน
                                                                                           ในอำเภอบ้านด่านและทั่วไป
                                                                                          *ร่วมมือกับโรงพยาบาลบุรีรัมย์และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในจังหวัดและอำเภอใกล้เคียงในการดูแลรักษาผู้ป่วย กรณีที่เกินขีดความสามารถเช่น  การผ่าตัด รังสีรักษา                                                                                                   การตรวจวินิจฉัยพิเศษ  เป็นต้น
                                                                                          *ให้การศึกษาดูงาน และฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา และนักศึกษาสาขาอื่นที่มาฝึกงานของภาครัฐและเอกชน 
                                                                                          *ศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพและงานวิจัยแก่รพ.สต.หรือหน่วยงานต่างๆ
                                                                                          *ให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่น  ตามที่ได้รับการประสานงาน หรือขอความร่วมมือ ทั้งในและนอกสถานที่
                                                                                          *ปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย
Visitors: 33,220